เมนู

ว่าด้วยนิเทศชรา

(บาลีข้อ 147)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศชรา ต่อไป
บทว่า ชรา (ความคร่ำคร่า) เป็นรูปความเฉพาะตนโดยภาวะของ
ตน. บทว่า ชิรณตา (ภาวะที่คร่ำคร่า) เป็นศัพท์แสดงถึงอาการ. ศัพท์
ทั้ง 3 มีคำว่า ขณฺฑิจจํ (ความที่ฟันหลุด) เป็นต้น เป็นศัพท์แสดงถึงกิจใน
เมื่อล่วงกาลผ่านไป สองศัพท์หลังเป็นการอธิบายความตามปกติ.*
จริงอยู่ ชรานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยภาวะของตนด้วย
บทว่า ความคร่ำคร่า นี้. เพราะเหตุนั้น บทว่า ความคร่ำคร่า นี้ จึงเป็น
รูปความเฉพาะตนโดยสภาพแห่งบทว่า ความคร่ำคร่า นั้น. ทรงแสดงชรา
นั้นโดยอาการ ด้วยบทว่า ชิรณตา (ภาวะที่คร่ำคร่า) เพราะเหตุนั้น ศัพท์
ว่าชิรณตา นี้ จึงเป็นการอธิบายถึงอาการของชรานั้น.
ด้วยบทว่า ขณฺฑิจิจํ นี้ พระผู้นีพระภาคเจ้าทรงแสดงชราโดยกิจ
คือกระทำความเป็นผู้มีฟันและเล็บหักในเมื่อล่วงกาลผ่านไป. ด้วยบทว่า
ปาลิจฺจํ (ความที่ผมหงอก) นี้ ทรงแสดงชราโดยกิจ คือการทำความเป็นผู้มี
ผมและขนหงอก. ด้วยบทว่า วลิตฺตจตา (ความที่หนังเหี่ยวย่น) นี้ ทรง
แสดงชราโดยกิจ คือการทำความเป็นผู้มีเนื้อเหี่ยวแล้ว หนังย่นแล้ว เพราะ
เหตุนั้น ศัพท์ทั้ง 3 มีอาทิว่า ขณฺฑิจฺจํ ( ความที่ฟันหลุด) เหล่านี้ จึงเป็น
ศัพท์แสดงกิจในเมื่อล่วงกาลผ่านไปของชรานั้น. ด้วยศัพท์ทั้ง 3 นั้น พระองค์
ทรงแสดง ปากฏชรา ว่า ชรานั้นเป็นธรรมชาติปรากฏแล้ว ด้วยสามารถ
แห่งการเห็นภาวะเหล่านี้ เป็นของพิการไป เปรียบเหมือนทางเดินของน้ำ หรือ
* คือ อายุโน สํหานิ ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ และ อินฺทฺริยานํ ปริปาโก ความแก่หง่อมแห่ง
อินทรีย์

ลม หรือไฟ ย่อมปรากฏเพราะความที่หญ้าและต้นไม้เป็นต้นหักโค้นทลายแล้ว
หรือถูกไฟไหม้ และทางที่เป็นไปแล้วนั้นมิใช่น้ำเป็นต้นเหล่านั้นเลย ข้อนี้
ฉันใด ทางเดินของเรา ก็่ฉันนั้นเหมือนกันย่อมปรากฏในที่มีฟันเป็นต้น ด้วย
อำนาจลักษณะมีภาวะที่หักเป็นต้น ใคร ๆ แม้ลืมตาก็รู้ได้ แต่ลักษณะมีภาวะ
ที่ฟันหักเป็นต้นเท่านั้น มิใช่ชรา เพราะชรามิใช่สิ่งที่พึงรู้แจ้งด้วยตา.
อนึ่ง ชรานั้น พระองค์ทรงแสดงโดยปกติ กล่าวคือความสิ้นอายุ
และความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ซึ่งปรากฏเฉพาะในเมื่อล่วงกาล
ผ่านไปเท่านั้น ด้วยบทเหล่านี้ว่า อายุโน สํหานิ อินฺทฺริยานํ ปริปาโก
(ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ และความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์) เพราะเหตุนั้น
สองศัพท์หลังเหล่านั้น พึงทราบว่า เป็นศัพท์อธิบายความตามปกติของชรานั้น
บรรดาบททั้ง 2 (คือความเสื่อมสิ้นแห่งอายุและความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์) นั้น
เพราะอายุของผู้ถึงชราแล้วย่อมเสื่อม ฉะนั้น ชรา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
โดยผลูปจารนัยว่า ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ. อนึ่ง เพราะอินทรีย์มีจักษุ
เป็นต้น ในเวลาที่ยังเป็นหนุ่มเป็นของผ่องใสดี สามารถรับวิสัยของตน
แม้ละเอียดได้โดยง่ายที่เดียว เมื่อเขาถึงชราแล้ว เป็นอินทรีย์หง่อมแล้ว
สับสนไม่คล่องแคล่ว ไม่สามารถรับวิสัยของตนแม้หยาบได้ ฉะนั้น พระองค์
จึงตรัสว่า อินฺทฺริยานํ ปริปาโก (ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์) โดยผลู-
ปจารนัยที่เดียว.

ว่าด้วยชรา 2 อย่าง


อนึ่ง ชราแม้ทั้งหมด ที่ทรงยกขึ้นแสดงไว้อย่างไว้อย่างนี้นั้นมี 2 อย่าง คือ